Mockingjay

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

                                 บทประพันธ์ที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ซ้ำ

                ผู้กองยอดรัก ยอดรักผู้กอง­­ เป็นนวนิยายของ กาญจนา นาคนันทน์ เป็นเรื่องราวของความรักของพลทหารกับผู้กองสาวเจ้าเสน่ห์ที่แฝงไว้ด้วยความสนุกสนาน ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มาแล้วหลายครั้ง ถูกนำมาสร้างทำเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง (พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2524) และละครโทรทัศน์ถึง 6 ครั้ง (พ.ศ. 2515, พ.ศ. 2522, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2550) โดยแต่ละครั้งจะมีชื่อเรื่องต่างกัน เช่น ผู้กองยอดรัก, ยอดรักผู้กอง,
 ผู้กองยอดรัก ยอดรักผู้กอง และ ผู้กองอยู่ไหน


                                                                                         กาญจนา นาคนันทน์ 





เนื้อเรื่อง

พัน น้ำสุพรรณ หลังจากที่เรียนจบสาขานิติศาสตร์ เขาก็ทำงานเป็นทนายฝึกหัดอยู่เกือบปีเมื่อหมดกำหนดการผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร เขาก็เดินทางกลับบ้านเกิด กำนันพูนกับนางจันทร์ ก็เตรียมจัดงานต้อนรับการกลับมาของลูกชายอย่างใหญ่โต พันอยากเป็นทหาร แต่พ่อกำนันไม่ยอมเพราะกลัวลูกจะลำบาก จึงติดสินบนเจ้าหน้าที่สัสดีเพื่อไม่ให้พันได้เป็นทหาร เมื่อพันรู้เรื่องจึงทะเลาะกับพ่อและคิดวางแผนฆ่าตัวตาย ทำให้พ่อกับแม่จึงต้องตามใจ แต่พันจับได้ใบดำ เขาจึงไปสมัครเป็นทหารเกณฑ์โดยใช้วุฒิการศึกษาแค่ ป.4 วันแรกที่กรม พันได้พบเพื่อน และได้พบกับ ผู้กองฉวีผ่อง พันเกิดปิ๊งเธอตั้งแต่แรกเห็น แต่อ่ำเตือนพันว่าให้ตัดใจเพราะเธอเป็นลูกสาวสุดหวงของ พันเอกผวนกับคุณนายไฉววงษ์ แต่กลับทำให้พันเกิดความรู้สึกท้าทายมากกว่าที่คิดจะเด็ดดอกฟ้าโดยมีคู่แข่งคนสำคัญคือ พันตรีนายแพทย์สุทธิสาร พันเสนอตัวเป็นคนขับรถให้ผู้กองเพื่อหวังจะจีบหล่อน แต่พันก็โดนผู้กองตอกกลับมาทุกครั้ง ผู้กองเริ่มรู้สึกว่าพันมีความคิดอ่านเกินกว่าคนจบ ป.4 คุณนายไฉววงษ์ ซึ่งเป็นคนที่มีนิสัย ขี้เหนียวสุด ๆ ชอบใจพัน เพราะพันชอบเอาของมาฝากอยู่บ่อย ๆ และเก็บขวดในบ้านไปขายได้ราคาดี แต่หารู้ไม่ว่าพันควักเงินของตัวเองให้คุณนาย พันเริ่มเห็นว่าผู้กองไม่ได้เป็นคนเหย่อหยิ่ง แต่เธอเป็นคนรู้จักวางตัว เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ส่วนผู้กองก็เริ่มเห็นความจริงใจของพัน และเริ่มจะเขวอยู่เหมือนกัน พันเป็นที่โปรดปรานของคุณนายไฉววงษ์ เพราะช่วยคุณนายทำขนม จนพันเอกผวนหึง ทางกรมมีคำสั่งด่วนให้ผู้กองไปรักษาคนไข้ที่ต่างจังหวัด พันเอกผวนจึงให้พันเป็นคนขับรถไปส่ง ระหว่างทางมีโจรดักปล้นรถผู้กอง พันจึงพาผู้กองหนี แต่ดันไปเจอรังโจรและถูกจับ หัวหน้าโจรเห็นผู้กองก็อยากจะได้มาเป็นเมีย พันจึงออกอุบายหลอกโจรว่าผู้กองเป็นเมียตนเองและจูบผู้กองให้โจรดู หัวหน้าโจรจึงยอมตัดใจ ในค่ายผู้กองได้รักษาโจรคนหนึ่ง และผู้กองได้บอกเมียโจรคนนี้ว่าจะต้องรีบพาสามีหล่อนไปส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ถ้าไม่เช่นนั้นอาจจะตายได้ เมียโจรจึงวางแผนใส่ยานอนหลับไว้ในเหล้าจนหัวหน้าโจรและพวกหลับสนิท จึงหนีออกมาได้ มาถึงกรุงเทพฯ พันตรีสุทธิสารก็เร่งรัดขอแต่งงานกับผู้กอง พันเอกผวนเห็นด้วยและเปิดโอกาสให้พัน โดยการให้หาสินสอดทองหมั้นจำนวนมากมาสู่ขอ พันจึงกลับไปบอกพ่อกับแม่ที่สุพรรณให้มาสู่ขอผู้กอง ขบวนขันหมากมาถึงบ้านผู้กองพร้อม ๆ กัน แต่ขันหมากของพันตรีสุทธิสารดูจะได้เปรียบมากกว่า เพราะว่ามีนายทหารชั้นผู้ใหญ่มาเป็นเถ้าแก่สู่ขอ แต่พอพันเอกผวนได้พบกับกำนันพูนถึงกับตะลึงเพราะทั้งสองคนเคนเป็นเพื่อนรักกันมาก่อน ที่สำคัญกำนันพูนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ขอพันเอกผวนอยู่มากโข พันเอกผวนจึงให้ผู้กองฉวีผ่อง ตัดสินใจเองว่าจะรับขันหมากจากฝ่ายใด












ทำเป็นละครโทรทัศน์ 6 ครั้ง



              บทประพันธ์นี้ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้วหลายครั้ง  
ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2515 แสดงโดย ชุมพร เทพพิทักษ์ และกนกวรรณ ด่านอุดม ออกอากาศทาง ช่อง 4 บางขุนพรหม 

ครั้งที่ 2 ออกอากาศทาง ช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2522 สร้างโดย รัศมีดาวการละคร นำแสดงโดย นิรุตติ์ ศิริจรรยา และดวงใจ หทัยกาญจน์ ได้รับความนิยมอย่างมาก ถือว่าโด่งดังมากมายเลยทีเดียว

 ต่อมา ออกอากาศทาง ช่อง 9 ถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531 สร้างโดย สีบุญเรืองสยามสตูดิโอ นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์, สาวิตรี สามิภักดิ์

 และในปี พ.ศ. 2538 สร้างโดย อัครมีเดีย นำแสดงโดย วรุฒ วรธรรม, ชลิตา เฟื่องอารมย์, หนู เชิญยิ้ม 

ส่วนในปี พ.ศ. 2545 ออกอากาศทาง ช่อง 3 สร้างโดย อาร์เอส นำแสดงโดย ศรราม เทพพิทักษ์, กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ ก็ได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน

 และครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2550 ออกอากาศทาง ช่อง ITVสร้างโดย ทีวี ธันเดอร์ นำแสดงโดย เกียรติกมล ล่าทา, ไดอาน่า จงจินตนาการ






                ผมคิดว่าการที่ผู้สร้างนำบทประพันธ์ ที่มีชื่อเสียง มาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ซ้ำๆกันหลายรอบหลายเวอร์ชั่น  ก็เพราะผู้สร้างมองเห็นว่าบทประพันธ์เรื่องนี้ เคยเป็นที่ชื่นชอบและเป็นที่สนใจมาก่อน
   ถ้านำมาสร้างใหม่ต้องมีผู้ชมที่ชื่นชอบอย่างแน่นอน แต่ทั้นนี้ก็ต้องมีการเพิ่มเนื้อหาเพื่อให้มันทันกับโลก
   ในปัจจุบันเข้าไปด้วย  เพราะคนรุ่นใหม่ๆจะได้เกิดความสนใจมากขึ้น    แต่การนำมาทำซ้ำบ่อยจนเกินไป
   ก็อาจทำให้ผู้ชมเกิดการเบื่อละครเรื่องนั้นไปเลยก็ได้ 


อ้างอิง

1.     Jump upJump up ผู้กองยอดรัก (2516) มนัส กิ่งจันทร์.

แหล่งข้อมูลอื่น

รูปภาพสวยๆจาก

                       https://www.google.co.th


นักนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิตอล

 







ในโลกของความเปลี่ยนแปลงและโลกดิจิทัลในปัจจุบันนี้ การสื่อสารได้ปรับเปลี่ยนไปมาก เนื่องจากกระแสเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของประชาชนปัจจุบันอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีการสื่อสารมีการพัฒนาไปมากทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปรับสื่อสมัยใหม่มากขึ้นทิ้งสื่อดั้งเดิมไว้เป็นทางเลือก โดยเฉพาะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ กระทั่งสื่อดาวเทียม ที่กำลังเข้ามามีบทบาทแทนสื่อหลัก




          ในปัจจุบันจึงจำเป็นที่นักนิเทศศาสตร์ไม่ว่าจะในแขนงใด จะต้องมีความรู้ในด้านไอทีอยู่ไม่มากก็น้อยผ่านมาจะเห็นว่าจากเดิมที่หลักสูตรจะผลิตบุคลากรให้ออกมาเป็น นักข่าว นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ การเรียนการสอนเป็นสาขาวิชาเดี่ยวๆ นักศึกษาที่จบออกไปก็จะมีความรู้เฉพาะสาขาด้านนั้นๆแต่ยุคสมัยได้มีการเปลี่ยนไป จะเห็นว่าองค์กรสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็น วิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อออนไลน์ต่างๆที่เข้ามาในชีวิตประจำวันนั้นไม่ได้มีแค่ทางๆเดียวเพราะเทคโนโลยีสมัยนี้
มันวิวัฒนาการไปอย่ารวดเร็ว และในสังคมไทยในปัจจุบันนี้การใช้สื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ และสื่อออนไลน์ต่างๆ  มันได้ปรับตัวผนวกเข้าหากันได้อย่างง่ายดาย ทำให้การรับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นมีประสิทธิภาพมมากขึ้นและรวดเร็วและอย่างอิสระ   


เราจะเห็นว่าปัจจุบัน Social Network  จะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับการสื่อสาร  เพราะจะมีความสะดวกสบายรวดเร็วในการนำเสนอข่าวสารต่างๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์อะไรมาก เหมือนกับสื่อในยุคก่อน   แค่เรามีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เครื่องเดียวก็สามารถที่จะนำเสนอข่าวสารต่างๆได้อย่างรวดเร็วสามารถนำเสนอข่าวสารไปได้ทั่วโลก ในไม่กี่วินาที     ในบัจจุบันไม่่จำเป็นต้อง เรียนจบมาทางสายนิเทศศาสตร์โดยตรง ก็สามารถนำเสนอข่าวสารต่างๆ  ให้กับผู้รับสารคนอื่นๆ ได้เข้าถึงข่าวสารนั้นได้ โดยการใช้สื่อ    Social Network  เป็นตัวส่งข่าวสารไปยังผู้อ่าน  หรื่อผู้รับสารต่างๆ
แต่ทั้งนี้การนำเสนอข่าวสารต่างนั้นก็ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น  ไม่ไปทำให้ผู้อื่นเสียหาย  โดยการไปใส่ร้าย  หรือนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง   คือเราจะต้องรู้ถึงกฎหมาย   หรือขอบเขตในการใช้   Social Network นั้นด้วย

ขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก
https://www.google.co.th


วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แท่นพิมพ์ Gutenberg กับผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน


                           

บิดาแห่งการพิมพ์ (ค.ศ. 1398-1468)
อัจฉริยะผู้สร้างเครื่องพิมพ์
สิ่งประดิษฐ์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกนานัปการ

                                                  โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก ผู้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์





                                                         

                                       



            เป็นเวลาหลายร้อยปีที่การเผยแพร่วิทยาการผ่านหนังสือจำกัดในคนกลุ่มเล็กๆ ส่วนใหญ่ก็คือพระและนักบวช หนังสือแต่ละเล่มมีเพียง 1 เดียว และหาค่าไม่ได้ ในช่วงยุคกลางหนังสือเขียนด้วยมือ และนักบวชเป็นผู้ทุ่มเทเวลาหลายปีทำขึ้น แต่ในปี 1450 สิ่งประดิษฐ์ชิ้นหนึ่งก็พลิกโลก นั่นก็คือ ในเมืองไมนซ์ในเยอรมนี โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก คิดค้นวิธีการพิมพ์หนังสือด้วยตัวเรียงพิมพ์ซึ่งทำให้หนังสือสามารถทำซ้ำได้เป็นจำนวนมาก และมีต้นทุนต่ำลง
การพิมพ์แรกๆของกูเตนเบิร์ก ได้แก่เอกสารราชการ แต่ไม่นานเขาก็เริ่มพิมพ์คัมภีร์ไบเบิ้ลภาษาละติณ กูเตนเบิร์กหล่อตัวพิมพ์หล่อตัวพิมพ์กว่าหนึ่งแสนตัวเพื่องานนี้ ช่างเรียงพิมพ์ และช่างพิมพ์ของเขาใช้เวลากว่าสองปีพิมพ์ครั้งแรก 180 ริม จำนวนพิมพ์ครั้งนั้นขายได้หมด คนในยุคนั้นต่างก็ทึ่งในผลงานของกูเตนเบิร์ก เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการผลิตหนังสือได้เป็นจำนวนมากและเหมือนกันทุกเล่ม หนังสือจึงกลายเป็นสื่อกลางที่คนยอมรับอย่างเต็มที่


20 ปีหลังประดิษฐ์คิดค้นของกูเตนเบิร์ก นวัตกรรมการพิมพ์ก็เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย หนังสือกลายเป็นสิ่งทั่วไปสามารถซื้อหาได้ เมื่อคนอ่านออกเขียนได้มากขึ้น จำนวนคนที่จะอ่านหนังสือก็เพิ่มขึ้นด้วย

หนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกเกิดขึ้นที่เมืองไรซิ่งในปี 1650 แต่หนังสือพิมพ์เพิ่งเริ่มแสดงบทบาทเต็มตัวเมื่อเกิดเครื่องพิมพ์พลังไอน้ำขึ้นในสัตวรรษที่ 19 จากนั้นการพิมพ์ระบบออฟเซ็ตก็เปลี่ยมโฉมหน้าการพิมพ์ครั้งใหญ่ วิธีนี้ส่วนที่เป็นพื้นแม่พิมพ์กับส่วนที่ต้องการพิมพ์จะอยู่บนระนาบเดียวกัน การพิมพ์เริ่มจากถ่ายหน้าที่จะพิมพ์ด้วยแสงลงบนแผ่นแม่พิมพ์บางๆ จากนั้นจะให้น้ำแก่แผ่นแม่พิมพ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นจับส่วนที่ไม่ได้ต้องการพิมพ์ จากนั้นจึงลงหมึก ซึ่งมีความมันอยู่ จึงจับติดเฉพาะส่วนที่ต้องการพิมพ์ที่ก่อนหน้านี้ถ่ายไว้ด้วยแสง


                           ผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน

 จากการค้นพบสิ่งประดิษฐ์ของ กูเตนเบิร์ก ที่ส่งผลให้มีวิวัฒนาการของการพิมพ์จากอดีตมาถึงปัจจุบัน  นอกจากนี้การเกิดขึ้นของการพัฒนาการพิมพ์นั้น ทำให้เกิดการผลิตที่เป็นแบบเดียวกัน และเป็นการผลิตแบบซ้ำๆ และเป็นจำนวนมาก การผลิตซ้ำๆ นั้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่คนเราเริ่มกลายเป็นผู้รับอย่างเดียว ในเชิงของวัตถุนิยม หรือกลายเป็นทาสของสังคมวัตถุนิยมนั่นเอง
การเกิดขึ้นของการพิมพ์นั้น เกิดขึ้นโดยนำไปใช้กับการทำงานที่มีการแยกเป็น function มากขึ้น ผลกระทบของการพิมพ์ ได้เข้าไปสู่จิตใจและสังคมของมนุษย์เราทีละน้อยๆ แม้ว่าในช่วงแรกนั้น มีการต่อต้าน โดยเฉพาะกลุ่มทำงานศิลปะยุคเก่า โดยสรุปแล้ว ผลผลิตจากGutenberg Eraนั้น ค่อนข้างจะขัดแย้งกับสังคมก่อนหน้านั้นที่เต็มไปด้วยการสื่อสารทางวาจา (Oral Society)



วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชีวิตเด็กปี1 เฟรชชี

ในที่สุดผมก็ได้เข้าสู่รั่วมหาลัยซักที ถึงแม้จะไม่ใช้มหาลัยที่มีชื่อเสียงระดับประเทศเหมือนมหาลัยอื่นๆก็ตาม แต่ผมก็มีความภูมิใจในคณะของตัวเอง  ผมศึกษาอยู่คณะวิทยาการจัดการโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  ชีวิตในรั่วมหาวิทยาลัยอาจจะเป็นประสบการณ์ใหม่ๆ  ที่ผมต้องการจะมาค้นหา  เพราะผมจบ ปวส. มาจากวิทยาลัยอาชีวะศึกษาเชียงราย เป็นวิทยาลัยสายอาชีพซึ่งผมเรียนจบก็ได้งานทำเลย สำหรับใครหลายคนก็อาจจะเรียนจบ มีงานทำที่ดีก็จบ แต่สำหรับผมมันไม่ใช่แค่นั้นเรียนจบ มีงานทำ มีเงินเดือนใช้  แต่มันยังขาดอะไรบางอย่าง ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อมาตามหาสิ่งที่ขาด สิ่งๆ นั้นก็คือการได้มาใช้ชีวิตเป็นเด็กมหาลัย  การได้มาใช้ชีวิตเด็กปีหนึ่งมันทำให้ผมได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ ประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากการทำงาน ประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากการเรียนระดับสายวิชาชีพ หลายคนคงจะตั้งข้อสงสัยว่าอายุมากกว่าแล้วทำไมต้องมาร่วมกิจกรรมรับน้อง  มาให้รุ่นพี่ที่อายุน้อยกว่าสั่งอย่างนั้น สั่งอย่างนี้ ก็ผมเสียเงินมาซื้อประสบการณ์ในรั่วมหาลัยนิ ไม่ไปก็ขาดทุนสิครับ ถ้ากิจกรรมมันไม่กระทบกับงานของผม ผมก็พยายามที่จะเข้าร่วมให้ได้มากที่สุด
 เพราะกิจกรรมระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องมันได้อะไรมากกว่าที่คิด อย่างน้อยก็ได้ความสามัคคีมาละหนึ่งอย่างครับ  กิจกรรมแรกในรั่วมหาวิทยาลัยของผมก็คือ การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ซึ่งเป็นการปฐมนิเทศการต้อนรับและการใช้ชีวิตในรั่วมหาวิทยาลัยของนักศึกษาใหม่ กิจกรรมที่สองคือการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องนิเทศศาสตร์  กิจกรรมที่สามคือการทำกิจกรรมร่วมกันของนักศึกษาใหม่ในรั่วมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งมีการเดินไปตามฐานต่างๆในรั่วมหาวิทยาลัย และมีการแนะนำสถานที่ต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้รู้ และมีการแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมในการใช้ชีวิตอยู่ในรั่วมหาวิทยาลัย  และมีการเล่นเกมส์สนทนาการต่างๆ  เพื่อทำให้นักศึกษาใหม่ และรุ่นพี่มีความคุ้นเคยกันและทำความรู้จักกันให้มากขึ้น  การทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เด็กปีหนึ่ง และรุ่นพี่เริ่มรู้จักกันที่ละคน สองคนเริ่มรู้จักกันมากขึ้นเรื่อยๆ พอเสร็จจากการทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัย ก็มีกิจกรรมของคณะคือการเชื่อม สัมพันธ์ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ  ก็จะมีการร่วมเล่นเกมส์สันทนาการตามฐานต่างๆของคณะวิทยาการจักการ การที่ผมได้มาใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัยมันทำให้ผมรู้ว่า ในรั่วมหาวิทยาลัยไม่ได้มีแต่การเรียนเพื่อหาความรู้เพียงอย่างเดียว  แต่ยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่ให้เด็กมหาลัยได้ทำเพื่อเพิ่มความบันเทิงและความสามัคคีระหว่างนักศึกษาอีกด้วย
  และมีกิจกรรมอีกหนึ่งกิจกรรมของคณะวิทยาการจัดการที่ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นก็คือกิจกรรมการประกวดดาวเดือนของคณะวิทยาการจัดการและการแข่งขันบูมซึ่งการแข่งขันบูมนี้เองที่ทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างเพื่อนๆในสาขาวิชา เพราะการที่เราจะบูมได้พร้อมเพียงกันนั้น เราต้องมีการฝึกซ้อมกันอยู่หลายวัน มีบางคนที่ท้อบ้าง บางคนก็ติดภารกิจบ้าง  แต่ถึงยังไงพอถึงวันแข่งขันพวกเราทุกคนก็พร้อมที่จะทำมันออกมาเต็มที่  จนประสพความสำเร็จในที่สุดพวกเรา สื่อใหม่  ก็แข่งบูมได้ที่สอง ซึ่งมันเป็นความสำเร็จก้าวแรกของนักศึกษาใหม่ ชาวนิเทศศาสตร์ การสื่อสารสื่อใหม่ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันจนประสพความสำเร็จ 

ใบปริญญานั้นอาจจะไม่ใช่เป้าหมายที่ผมหวัง  แต่เป็นความรู้และประสบการณ์ในรั่วมหาวิทยาลัยต่างหากที่ผมต้องการ ถ้ามีโอกาสผมอยากจะหาทีมเพื่อเข้าร่วมการประกวด ตามงานประกวดต่างๆ ตามความฝันที่ผมตั้งใจ