Mockingjay

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แท่นพิมพ์ Gutenberg กับผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน


                           

บิดาแห่งการพิมพ์ (ค.ศ. 1398-1468)
อัจฉริยะผู้สร้างเครื่องพิมพ์
สิ่งประดิษฐ์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกนานัปการ

                                                  โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก ผู้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์





                                                         

                                       



            เป็นเวลาหลายร้อยปีที่การเผยแพร่วิทยาการผ่านหนังสือจำกัดในคนกลุ่มเล็กๆ ส่วนใหญ่ก็คือพระและนักบวช หนังสือแต่ละเล่มมีเพียง 1 เดียว และหาค่าไม่ได้ ในช่วงยุคกลางหนังสือเขียนด้วยมือ และนักบวชเป็นผู้ทุ่มเทเวลาหลายปีทำขึ้น แต่ในปี 1450 สิ่งประดิษฐ์ชิ้นหนึ่งก็พลิกโลก นั่นก็คือ ในเมืองไมนซ์ในเยอรมนี โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก คิดค้นวิธีการพิมพ์หนังสือด้วยตัวเรียงพิมพ์ซึ่งทำให้หนังสือสามารถทำซ้ำได้เป็นจำนวนมาก และมีต้นทุนต่ำลง
การพิมพ์แรกๆของกูเตนเบิร์ก ได้แก่เอกสารราชการ แต่ไม่นานเขาก็เริ่มพิมพ์คัมภีร์ไบเบิ้ลภาษาละติณ กูเตนเบิร์กหล่อตัวพิมพ์หล่อตัวพิมพ์กว่าหนึ่งแสนตัวเพื่องานนี้ ช่างเรียงพิมพ์ และช่างพิมพ์ของเขาใช้เวลากว่าสองปีพิมพ์ครั้งแรก 180 ริม จำนวนพิมพ์ครั้งนั้นขายได้หมด คนในยุคนั้นต่างก็ทึ่งในผลงานของกูเตนเบิร์ก เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการผลิตหนังสือได้เป็นจำนวนมากและเหมือนกันทุกเล่ม หนังสือจึงกลายเป็นสื่อกลางที่คนยอมรับอย่างเต็มที่


20 ปีหลังประดิษฐ์คิดค้นของกูเตนเบิร์ก นวัตกรรมการพิมพ์ก็เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย หนังสือกลายเป็นสิ่งทั่วไปสามารถซื้อหาได้ เมื่อคนอ่านออกเขียนได้มากขึ้น จำนวนคนที่จะอ่านหนังสือก็เพิ่มขึ้นด้วย

หนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกเกิดขึ้นที่เมืองไรซิ่งในปี 1650 แต่หนังสือพิมพ์เพิ่งเริ่มแสดงบทบาทเต็มตัวเมื่อเกิดเครื่องพิมพ์พลังไอน้ำขึ้นในสัตวรรษที่ 19 จากนั้นการพิมพ์ระบบออฟเซ็ตก็เปลี่ยมโฉมหน้าการพิมพ์ครั้งใหญ่ วิธีนี้ส่วนที่เป็นพื้นแม่พิมพ์กับส่วนที่ต้องการพิมพ์จะอยู่บนระนาบเดียวกัน การพิมพ์เริ่มจากถ่ายหน้าที่จะพิมพ์ด้วยแสงลงบนแผ่นแม่พิมพ์บางๆ จากนั้นจะให้น้ำแก่แผ่นแม่พิมพ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นจับส่วนที่ไม่ได้ต้องการพิมพ์ จากนั้นจึงลงหมึก ซึ่งมีความมันอยู่ จึงจับติดเฉพาะส่วนที่ต้องการพิมพ์ที่ก่อนหน้านี้ถ่ายไว้ด้วยแสง


                           ผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน

 จากการค้นพบสิ่งประดิษฐ์ของ กูเตนเบิร์ก ที่ส่งผลให้มีวิวัฒนาการของการพิมพ์จากอดีตมาถึงปัจจุบัน  นอกจากนี้การเกิดขึ้นของการพัฒนาการพิมพ์นั้น ทำให้เกิดการผลิตที่เป็นแบบเดียวกัน และเป็นการผลิตแบบซ้ำๆ และเป็นจำนวนมาก การผลิตซ้ำๆ นั้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่คนเราเริ่มกลายเป็นผู้รับอย่างเดียว ในเชิงของวัตถุนิยม หรือกลายเป็นทาสของสังคมวัตถุนิยมนั่นเอง
การเกิดขึ้นของการพิมพ์นั้น เกิดขึ้นโดยนำไปใช้กับการทำงานที่มีการแยกเป็น function มากขึ้น ผลกระทบของการพิมพ์ ได้เข้าไปสู่จิตใจและสังคมของมนุษย์เราทีละน้อยๆ แม้ว่าในช่วงแรกนั้น มีการต่อต้าน โดยเฉพาะกลุ่มทำงานศิลปะยุคเก่า โดยสรุปแล้ว ผลผลิตจากGutenberg Eraนั้น ค่อนข้างจะขัดแย้งกับสังคมก่อนหน้านั้นที่เต็มไปด้วยการสื่อสารทางวาจา (Oral Society)



วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชีวิตเด็กปี1 เฟรชชี

ในที่สุดผมก็ได้เข้าสู่รั่วมหาลัยซักที ถึงแม้จะไม่ใช้มหาลัยที่มีชื่อเสียงระดับประเทศเหมือนมหาลัยอื่นๆก็ตาม แต่ผมก็มีความภูมิใจในคณะของตัวเอง  ผมศึกษาอยู่คณะวิทยาการจัดการโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  ชีวิตในรั่วมหาวิทยาลัยอาจจะเป็นประสบการณ์ใหม่ๆ  ที่ผมต้องการจะมาค้นหา  เพราะผมจบ ปวส. มาจากวิทยาลัยอาชีวะศึกษาเชียงราย เป็นวิทยาลัยสายอาชีพซึ่งผมเรียนจบก็ได้งานทำเลย สำหรับใครหลายคนก็อาจจะเรียนจบ มีงานทำที่ดีก็จบ แต่สำหรับผมมันไม่ใช่แค่นั้นเรียนจบ มีงานทำ มีเงินเดือนใช้  แต่มันยังขาดอะไรบางอย่าง ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อมาตามหาสิ่งที่ขาด สิ่งๆ นั้นก็คือการได้มาใช้ชีวิตเป็นเด็กมหาลัย  การได้มาใช้ชีวิตเด็กปีหนึ่งมันทำให้ผมได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ ประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากการทำงาน ประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากการเรียนระดับสายวิชาชีพ หลายคนคงจะตั้งข้อสงสัยว่าอายุมากกว่าแล้วทำไมต้องมาร่วมกิจกรรมรับน้อง  มาให้รุ่นพี่ที่อายุน้อยกว่าสั่งอย่างนั้น สั่งอย่างนี้ ก็ผมเสียเงินมาซื้อประสบการณ์ในรั่วมหาลัยนิ ไม่ไปก็ขาดทุนสิครับ ถ้ากิจกรรมมันไม่กระทบกับงานของผม ผมก็พยายามที่จะเข้าร่วมให้ได้มากที่สุด
 เพราะกิจกรรมระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องมันได้อะไรมากกว่าที่คิด อย่างน้อยก็ได้ความสามัคคีมาละหนึ่งอย่างครับ  กิจกรรมแรกในรั่วมหาวิทยาลัยของผมก็คือ การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ซึ่งเป็นการปฐมนิเทศการต้อนรับและการใช้ชีวิตในรั่วมหาวิทยาลัยของนักศึกษาใหม่ กิจกรรมที่สองคือการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องนิเทศศาสตร์  กิจกรรมที่สามคือการทำกิจกรรมร่วมกันของนักศึกษาใหม่ในรั่วมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งมีการเดินไปตามฐานต่างๆในรั่วมหาวิทยาลัย และมีการแนะนำสถานที่ต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้รู้ และมีการแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมในการใช้ชีวิตอยู่ในรั่วมหาวิทยาลัย  และมีการเล่นเกมส์สนทนาการต่างๆ  เพื่อทำให้นักศึกษาใหม่ และรุ่นพี่มีความคุ้นเคยกันและทำความรู้จักกันให้มากขึ้น  การทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เด็กปีหนึ่ง และรุ่นพี่เริ่มรู้จักกันที่ละคน สองคนเริ่มรู้จักกันมากขึ้นเรื่อยๆ พอเสร็จจากการทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัย ก็มีกิจกรรมของคณะคือการเชื่อม สัมพันธ์ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ  ก็จะมีการร่วมเล่นเกมส์สันทนาการตามฐานต่างๆของคณะวิทยาการจักการ การที่ผมได้มาใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัยมันทำให้ผมรู้ว่า ในรั่วมหาวิทยาลัยไม่ได้มีแต่การเรียนเพื่อหาความรู้เพียงอย่างเดียว  แต่ยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่ให้เด็กมหาลัยได้ทำเพื่อเพิ่มความบันเทิงและความสามัคคีระหว่างนักศึกษาอีกด้วย
  และมีกิจกรรมอีกหนึ่งกิจกรรมของคณะวิทยาการจัดการที่ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นก็คือกิจกรรมการประกวดดาวเดือนของคณะวิทยาการจัดการและการแข่งขันบูมซึ่งการแข่งขันบูมนี้เองที่ทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างเพื่อนๆในสาขาวิชา เพราะการที่เราจะบูมได้พร้อมเพียงกันนั้น เราต้องมีการฝึกซ้อมกันอยู่หลายวัน มีบางคนที่ท้อบ้าง บางคนก็ติดภารกิจบ้าง  แต่ถึงยังไงพอถึงวันแข่งขันพวกเราทุกคนก็พร้อมที่จะทำมันออกมาเต็มที่  จนประสพความสำเร็จในที่สุดพวกเรา สื่อใหม่  ก็แข่งบูมได้ที่สอง ซึ่งมันเป็นความสำเร็จก้าวแรกของนักศึกษาใหม่ ชาวนิเทศศาสตร์ การสื่อสารสื่อใหม่ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันจนประสพความสำเร็จ 

ใบปริญญานั้นอาจจะไม่ใช่เป้าหมายที่ผมหวัง  แต่เป็นความรู้และประสบการณ์ในรั่วมหาวิทยาลัยต่างหากที่ผมต้องการ ถ้ามีโอกาสผมอยากจะหาทีมเพื่อเข้าร่วมการประกวด ตามงานประกวดต่างๆ ตามความฝันที่ผมตั้งใจ