นั่งรถรางแอ่วเมือง เล่าขาน ๙ ตำนาน นครเจียงฮาย
" การนั่งรถรางแอ่วเมือง เล่าขาน ๙ ตำนาน นครเจียงฮาย " เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ จ.เชียงราย สำหรับใครที่พึ่งเคยเดินทางมาเที่ยวเชียงรายเป็นครั้งแรก เมื่อมาถึงเชียงรายแล้ว สถานที่ ๆ
เราจะต้องมานั่นก็คือ "อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช"
( หรือพญามังรายมหราช ) ซึ่งเป็นกษัตริย์ปฐมล้านนาผู้สร้างเมืองเชียงราย
ในปี พ.ศ.1805 โดยด้านหลังจะมีอาคารศูนย์ส่งเสริมสินค้าพื้นเมือง
ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ "นั่งรถรางแอ่วเมือง เล่าขาน ๙ ตำนานนครเจียงฮาย"
สาเหตุที่ผมแนะนำว่าให้มานั่งก็เพราะว่ารถรางจะสามารถพาเราไปยังสถานที่ท่องเที่ยวหลัก
ๆ ในเมืองเชียงรายได้ แบบว่า ถ้าไม่ไปเยือนที่ต่าง ๆ
ในเส้นทางรถรางแล้วเท่ากับว่าเราไม่มาถึงเชียงรายนะครับ
จุดลงทะเบียนนั่งรถราง
รถรางเชียงรายเปิดให้บริการทุกวัน โดยแบ่งเป็นรอบเช้าและรอบบ่าย รอบเช้าจะมี 9:00 และ 9:30 ส่วนรอบบ่ายจะมีช่วง 13:00 และ 13:30 ครับ แต่ว่ารอบนั้นจะต้องมีผู้มาใช้บริการอย่างน้อย 5 คน จึงจะให้บริการนักท่องเที่ยวได้ครับ
ถ้าอยากจะขึ้นรถราง ให้เรามาถึงอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชก่อนรถรางให้บริการ
30 นาที เช่นถ้าอยากจะไปรอบเช้าต้องมาถึงที่นี่ 8:30 ซึ่งจะได้รอบ 9:00 ครับ เมื่อมาถึงแล้ว
เราก็มาลงทะเบียนที่ศุนย์บริการข้อมูลของอาคารครับ
ซึ่งจะมีจุดลงทะเบียนตรงนั้นละครับ ค่าบริการฟรี!
ไม่เสียค่าใช้จ่ายครับ ให้เขียนชื่อและจังหวัดที่ตัวเองอยู่
มาเดี่ยวหรือมาหลายคน ก็ใส่ไปตามนั้นครับ
และอย่าลืมถามเจ้าหน้าที่ด้วยว่าจะออกรอบไหน แต่ว่า
ถ้ารอบนั้นมีคนมาลงทะเบียนต่ำกว่า 5 คนล่ะก็...
คงต้องเป็นรอบต่อไปครับ
หลังจากที่ลงทะเบียนเสร็จแล้ว
ก็รับแผนที่ท่องเที่ยวเทศบาลนครเชียงราย และเส้นทาง 9 วัดเทศบาลนครเชียงรายไปศึกษาเส้นทางและแผนที่ของทางจังหวัดครับ
จากนั้นก็รอรอบรถออกตามที่เจ้าหน้าที่บอกนะครับ
เมื่อถึงเวลาแล้วล้อหมุน!!
ก็จะมีเจ้าหน้าที่่และมั้คคุเทศก์มาคอยต้อนรับการเดินทางรถรางแอ่วเมืองเชียงราย
และเขาก็เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของสถานที่ต่าง ๆ
ของจังหวัดเชียงรายอย่างละเอียดและครบถ้วน!! ครับ ส่วนสถานที่ ๆ รถจะไปแวะมี 9 จุดดังต่อไปนี้ครับ
จุดที่ 1 อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช
ซึ่งอยู่ด้านหน้าที่รถรางจอดอยู่
จุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถเดินไปชมได้เองทั้งก่อนรถออกหรือเมื่อรถกลับมาถึง
จุดที่ 2 อาคารเทิดพระเกียรติ
90 ปี
สมเด็จพระศรีนครินทร์ และอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕
อาคารหลังนี้เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัด
ปัจจุบันภายในจัดทำเป็นหอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ
แสดงนิทรรศการถาวรแบ่งออกเป็น 6 ห้อง
มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีต่อจังหวัดเชียงราย รวมทั้งการแสดงนิทรรศการชนพื้นเมือง และกลุ่มชาติพันธ์ของจังหวัดเชียงราย
ด้านหลังอาคารหลังนี้เป็นที่ตั้งของหอประวัติเมืองเชียงราย 750 ปี แสดงประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงรายตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ สมัยสถาปนาเมืองเชียงราย สมัยราชอาณาจักรสยามและเชียงรายปัจจุบัน
จุดที่ 3 วัดพระสิงห์
วัดพระสิงห์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามหาพรหม ราวปีพุทธศักราช 1982 เคยเป็นที่ประดิษฐ์ฐานพระพุทธสิหิงค์
หรือที่เรียกกันว่า “พระสิงห์” ปัจจุบันเป็นองค์จำลอง
(องค์จริงประดิษฐ์ฐานอยู่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่)
มีพระอุโบสถรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนาสมัยเชียงแสน
บานประตูออกแบบโดยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี
ศิลปินล้านนาและศิลปินแห่งชาติผู้มีชื่อเสียงแกะสลักไม้เป็นเรื่อง ดิน น้ำ ลม ไฟ
นอกจากนั้นบานประตูยังแกะสลักเป็นรูปสัตว์สี่ชนิด และบ่งบอกความเป็นเพศหญิงเพศชาย
จุดที่ 4 วัดพระแก้ว
วัดพระแก้วเป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อว่า วัดป่าเยียะ เป็นป่าไผ่ชนิดหนึ่ง ในปี พ.ศ. 1977 ฟ้าได้ผ่าองค์พระเจดีย์พังทลายลงจึงพบพระแก้วมรกต (ปัจจุบันประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ) วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดพระแก้ว” พระอุโบสถของวัดเป็นพระวิหารทรงเชียงแสน ภายในมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง
วัดพระแก้วเป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อว่า วัดป่าเยียะ เป็นป่าไผ่ชนิดหนึ่ง ในปี พ.ศ. 1977 ฟ้าได้ผ่าองค์พระเจดีย์พังทลายลงจึงพบพระแก้วมรกต (ปัจจุบันประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ) วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดพระแก้ว” พระอุโบสถของวัดเป็นพระวิหารทรงเชียงแสน ภายในมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง
มีหอพระหยก เป็นอาคารทรงล้านนา
ภายในประดิษฐานพระหยกเชียงแสน มีโฮงหลวงแสงแก้ว
พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงพระพุทธรูปสำคัญของวัด ศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
และผลของต้นพระเจ้า 5 พระองค์
จุดที่ 5 วัดดอยงำเมือง
วัดดอยงำเมือง ตั้งอยู่บนดอยงำเมือง การขึ้นไปชมวัดจะต้องเดินขึ้นบันไดรวม 74 ขั้น
วัดดอยงำเมืองเป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นที่ตั้งของกู่บรรจุพระอัฐิของพญามังรายมหาราช สร้างโดยพญาไชยสงคราม โอรสของพญามังรายมหาราช ในพุทธศตวรรษที่ 19
วัดดอยงำเมือง ตั้งอยู่บนดอยงำเมือง การขึ้นไปชมวัดจะต้องเดินขึ้นบันไดรวม 74 ขั้น
วัดดอยงำเมืองเป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นที่ตั้งของกู่บรรจุพระอัฐิของพญามังรายมหาราช สร้างโดยพญาไชยสงคราม โอรสของพญามังรายมหาราช ในพุทธศตวรรษที่ 19
จุดที่ 6 วัดพระธาตุดอยจอมทอง
วัดพระธาตุดอยจอมทองตั้งอยู่บนดอยจอมทอง รถรางจะพานักท่องเที่ยวขึ้นไปถึงลานพระอุโบสถเลย
เป็นวัดที่มีพระเจดีย์ทาสีทองสวยงาม ที่สร้างขึ้นใหม่ แทนองค์เดิมที่พังทลายลงจากแผ่นดินไหว ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
บริเวณวัดพระธาตุดอยจอมทองมีเสาสะดือเมือง
วัดพระธาตุดอยจอมทองตั้งอยู่บนดอยจอมทอง รถรางจะพานักท่องเที่ยวขึ้นไปถึงลานพระอุโบสถเลย
เป็นวัดที่มีพระเจดีย์ทาสีทองสวยงาม ที่สร้างขึ้นใหม่ แทนองค์เดิมที่พังทลายลงจากแผ่นดินไหว ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
บริเวณวัดพระธาตุดอยจอมทองมีเสาสะดือเมือง
(หรือเสาหลักเมือง)
108 หลัก ตั้งอยู่บนเนินเขา ในรูปแบบสมมุติฐานของจักรวาล
จุดที่ 7 วัดมิ่งเมือง
สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช เป็นวัดสำคัญของชาวเชียงรายอีกวัดหนึ่ง ปัจจุบันเป็นสถานที่ประกอบพิธีทำบุญตักบาตรเที่ยงคืนในวันพระขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ ที่เรียกว่า “พิธีตักบาตรเป็งปุ๊ด” วัดมิ่งเมืองยังมีชื่อเรียกว่า วัดช้างมูบ(วัดช้างหมอบ) มีหลังคาพระอุโบสถเป็นรูปซุ้มโขงประดับด้วยรูปปั้นของช้างทรงเครื่องหมอบอยู่ บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่องค์หนึ่ง มีลักษณะแปลกตรงที่ทาสีดำทั้งองค์และมีริ้วสีทองเหมือนห่มจีวรบาง ๆ มีชื่อเรียกว่า “หลวงพ่อองค์ดำ” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนเคารพนับถือ
สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช เป็นวัดสำคัญของชาวเชียงรายอีกวัดหนึ่ง ปัจจุบันเป็นสถานที่ประกอบพิธีทำบุญตักบาตรเที่ยงคืนในวันพระขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ ที่เรียกว่า “พิธีตักบาตรเป็งปุ๊ด” วัดมิ่งเมืองยังมีชื่อเรียกว่า วัดช้างมูบ(วัดช้างหมอบ) มีหลังคาพระอุโบสถเป็นรูปซุ้มโขงประดับด้วยรูปปั้นของช้างทรงเครื่องหมอบอยู่ บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่องค์หนึ่ง มีลักษณะแปลกตรงที่ทาสีดำทั้งองค์และมีริ้วสีทองเหมือนห่มจีวรบาง ๆ มีชื่อเรียกว่า “หลวงพ่อองค์ดำ” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนเคารพนับถือ
จุดที่ 8 หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติฯ
ตั้งอยู่บนถนนบรรพปราการ ออกแบบโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ และก่อสร้างโดยเทศบาลนครเชียงรายในปี พ.ศ. 2549 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองเชียงราย หอนาฬิกาแสดงเวลาปัจจุบัน และมีการแสดงแสง สี เสียง ที่ตื่นตาประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้ชม จัดแสดงวันละ 3 รอบ ในเวลา 19.00 น., 20.00 น. และ 21.00 น. เสาไฟฟ้าบริเวณหอนาฬิกาทุกต้นได้รับการตกแต่งให้สวยงามเข้ากับตัวหอนาฬิกาด้วย นักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวเชียงรายต้องไม่พลาดชม
ตั้งอยู่บนถนนบรรพปราการ ออกแบบโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ และก่อสร้างโดยเทศบาลนครเชียงรายในปี พ.ศ. 2549 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองเชียงราย หอนาฬิกาแสดงเวลาปัจจุบัน และมีการแสดงแสง สี เสียง ที่ตื่นตาประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้ชม จัดแสดงวันละ 3 รอบ ในเวลา 19.00 น., 20.00 น. และ 21.00 น. เสาไฟฟ้าบริเวณหอนาฬิกาทุกต้นได้รับการตกแต่งให้สวยงามเข้ากับตัวหอนาฬิกาด้วย นักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวเชียงรายต้องไม่พลาดชม
จุดที่ 9 สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติฯ
สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุ ครบ ๗๕ พรรษา โดยเทศบาลนครเชียงรายได้พัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จัดเป็นสถานที่แสดงนิทรรศการชนเผ่า สถานที่อนุรักษ์ตุงและโคมที่มีเอกลักษณ์ล้านนา นอกจากนี้ยังเป็นสวนสาธารณะ สวนสุขภาพ จัดงานประเพณี และงานดอกไม้งาม และมีการจัดถนนคนเดินทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 17.00 - 24.00 น.
ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น(นั่งรถรางและเดินเข้าไปชมสถานที่ต่าง ๆ) ประมาณ 2 ชั่วโมง รถรางก็พาผู้โดยสาร(ลูกทัวร์) กลับมาถึงจุดเริ่มต้น(ด้านหลังอนุสาวรีย์พ่อขุนฯ) โดยสวัสดิภาพ ด้วยความประทับใจ
เคยใช้บริการ ดีมากค่ะ ได้เที่ยววัดสวยงามทุกแห่ง มีคนบรรยายให้ฟังด้วย เยี่ยมค่ะ
ตอบลบ